หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ลักณะของครูที่ดี

            สังคมคาดหวังว่า ครู คือ แบบอย่างที่ดีของศิษย์เป็นผู้สร้างสมาชิกใหม่ของสังคมให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อสังคม ธรรมชาติของอาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องสัมผัสกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

เอกลักษณ์ของครู


    1.อดทนรู้จักผ่อนปรนต่อปัญหาสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาสอน
   2.รับผิดชอบต่อหน้าที่ และต่อตนเอง
   3.เอาใจใส่ต่อการเรียนความประพฤติ ความเป็นอยู่
   4.ใฝ่หาความรู้ สำรวจ ปรับปรุงแก้ไขตนเองอยู่เสมอ
   5.ขยันมั่นเพียร รู้จักคิดริเริ่ม
   6.มีความยุติธรรมและทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่นใจ
   7.ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัดเหมาะสมกับสภาพอาชีพ
   8.เป็นผู้มีวัฒนธรรม และศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ
   9. สุภาพเรียบร้อย ประพฤติดีสม่ำเสมอ เหมาะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์

                       ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี
ครูที่ดีนั้นจะต้องทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวัง ความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควร แก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจมั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล".....

ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา

หลักคำสอนหรือหลักธรรมในพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความเป็นครู ประกอบด้วยหลักธรรม 7 ประการ คือ

1. ปิโย น่ารัก คือ การทำตัวเป็นที่รักต่อศิษย์และบุคคลทั่วไป การที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้ ก็ควรตั้งตนอยู่ในพรหมวิหาร 4 คือ
                 1.1 มีเมตตา ปรารถนาดีต่อศิษย์ หาทางให้ศิษย์เป็นสุขและเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิชาการและการดำเนินชีวิต คอยระวังมิให้ศิษย์ตกอยู่ในความประมาท
                1.2 มีกรุณา สงสาร เอ็นดูศิษย์ อยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความไม่รู้
                1.3 มีมุทิตา คือ ชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏเป็นการให้กำลังใจและช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง
                1.4 มีอุเบกขา คือ วางตัวเป็นกลาง จิตใจที่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ

2. ครุ หมายถึง การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งในด้านของจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง ที่จะดำรงตนอยู่ใน ความดีไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา และความหนักแน่นในด้านของความรอบรู้ธรรม ที่จะช่วยให้ครู มีคุณสมบัติ ดังกล่าว คือ พละ 5 ประการ ได้แก่
                2.1 ศรัทธาพละ คือ มีความเชื่อในทางที่ชอบ เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
               2.2 วิริยะพละ คือ ความเพียรในทางที่ชอบ คือ เพียรเลิกละความชั่ว เพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดในสันดาน
               2.3 สติพละ หมายถึง ความระลึกได้ มีความรู้สึกตัวในการกระทำ การพูด การคิดให้รอบคอบ
               2.4 สมาธิพละ หมายถึง ความมีใจจดจ่อแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่เป็นบุญกุศล พลังสมาธินี้จะเป็นกำลังต่อต้าน ความฟุ้งซ่านมิให้เกิดขึ้นในใจ
              2.5 ปัญญาพละ หมายถึง ความรอบรู้ คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำอะไรควรเว้น อะไรเป็นประโยชน์ และอะไรไร้ประโยชน์

3. ภาวนิโย การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดีงามควรแก่การเคารพ
4. วัตตา คือ เป็นผู้มีมานะในการตักเตือนสั่งสอน เพื่อให้ศิษย์มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี คือใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางสุจริต เป็นประโยชน์ ต่อตนเองและผู้อื่นได้ ลักษณะการสอนในแง่ของพุทธศาสนามี 5 ประการ คือ
               4.1 สันทัสสนา คือ สอนให้เข้าใจชัดเจน เห็นจริงอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นดังนี้ คือ สอนจากสิ่งที่รู้แล้ว ไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้ สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งยาก สอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหาสิ่งที่เป็นนามธรรม
              4.2 สมาทปนา มีการกระตุ้นเร่งเร้า เพื่อให้เกิดความกระตือรืนร้นที่จะประพฤติปฏิบัติตามที่ครูสอน
              4.3 สมุตเตชนา สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ไม่ครั่นคร้าม ต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคใดๆ
              4.4 สัมปหังสนา สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้เรียน คือมีเทคนิคในการสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ

5. วจนักขโม เป็นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำโดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งการอดทนต่อกริยา วาจาอันก้าวร้าวรุนแรงของ ผู้อื่นได้นั้น เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง

6. คัมภีรัญจกถัง กัตตา สามารถขยายข้อความที่ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจได้ การตีความในวิชาการนั้นๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งง่ายแก่การเข้าใจ เพราะวิชาการต่างๆ ที่ครูนำมาสอนนั้นล้วนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนไม่เคยเรียนมาก่อน ครูจะต้องมีวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องยากๆ ได้โดยง่าย โดยวิธีการ ดังนี้คือ
             6.1 แสดงจุดเด่น หัวข้อสำคัญๆ หรือโครงสร้างของวิชานั้น เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด ก่อนที่จะอธิบาย ในรายละเอียดต่อไป
            6.2 แสดงเหตุผลในวิชานั้น เช่น อธิบายจากเหตุไปสู่ผล อธิบายจากผลไปสู่สาเหตุ ยกตัวอย่างประกอบหรือ เปรียบเทียบกับเนื้อหาของวิชาอื่นๆ ที่ใกล้เคียง
           6.3 แสดงเนื้อหาที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของวิชานั้นๆ ตลอดจนชี้ให้เห็นคุณค่าในเชิงปฏิบัติ เพราะผู้เรียน จะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใกล้ตัวสามารถนำมาปฏิบัติได้

7. โนจัฏฐาเน นิโยชเย คือ การรู้จักและแนะนำศิษย์ไปในทางถูกที่ควรหมายถึง ไม่นำศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือชักชวนไปสู่อบายมุข เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวสถานเริงรมย์ต่างๆ วิธีการแนะนำศิษย์ไปใน ทาง ที่ถูกที่ควรนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ
             7.1 คิดหาวิธี ใช้วิธีขู่กำหราบ เป็นวิธีเตือนให้ศิษย์รู้สึกตัวและ ละความชั่ว กล่าวคือ เมื่อเห็นศิษย์ ประพฤติ ไปใน ทางที่ไม่ถูกไม่ควร
            7.2 นัคคหวิธี ใช้วิธียกย่องชมเชย เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดนิสัยที่ดีและป้องกันไม่ให้เกิดนิสัยที่ไม่ดี เมื่อใด ที่เห็นศิษย์ทำความดีครูจะต้องยกย่องชมเชย
           7.3 ทิฎฐานคติวิธี ใช้วิธีกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ครูต้องการให้ศิษย์ประพฤติปฏิบัติอย่างไร ครูก็ต้องปฏิบัติตน เช่นนั้นให้ศิษย์ได้เห็นเป็นตัวอย่าง


คุณลักษณะของครูที่ดีตามพระราชดำรัส


        พระราชดำรัสในที่นี้ หมายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.. 2523 มีข้อความที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูดีตอนหนึ่งว่า “... ครูที่แท้นั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี ต้องขยันหมั่นเพียรและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั่นและอดทน ต้องรักษาวินัยสำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..”
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตามที่ผู้เขียนได้อัญเชิญมาข้างต้นนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแล้ว สามารถเข้ากันได้กับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาทุกประการทั้งในหลักกัลยาณมิตตธรรมและหลักธรรมอื่นๆ ดังเช่น

1. หมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ตรงกับหลักธรรม “วิริยะ” หรือ “วิริยารัมภะ
2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ตรงกับหลักธรรม “จาคะ
3. หนักแน่น อดกลั้นอดทน ตรงกับหลักธรรม “ขันติ
4. รักษาวินัย...อยู่ในระเบียบแบบแผน ตรงกับหลักธรรม “วัตตา” หรือ “วินโย
5. ปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย ตรงกับหลักธรรม “สังวร
6. ตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ตรงกับหลักธรรม “สมาธิ
7. ซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ตรงกับหลักธรรม “สัจจะ
8. เมตตาหวังดี ตรงกับหลักธรรม “เมตตา
9. วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ตรงกับหลักธรรม “อุเบกขา
10. อบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ตรงกับหลักธรรม “ปัญญา

ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลต่างๆ

คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วไป
            คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วๆไป หมายถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ได้จากความคิดเห็นของนักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนบุคลในอาชีพต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังนี้
- มีลักษณะท่าทางดี         
- มีความประพฤติดี
- มีอัธยาศัยดี
- มีความยุติธรรม
- เข้ากับคนได้ทุกชนชั้น
- เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของศิษย์
- พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- มีความสามารถในการทำงาน
- มีความเป็นผู้นำ
- มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
- มีความสามารถในการสอน
- มีสุขภาพอนามัยที่ดี
- เป็นตัวของตัวเอง
- มีจริยธรรมสูง
- เข้มแข็งอดทน
- คล่องแคล่วว่องไว
- ยืดหยุ่นผ่อนปรน
- สติปัญญาดี
- มีวิจารณญาณ
- ไม่มัวเมาในอบายมุขทั้งปวง


ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

 มีคุณธรรม จรรยาบรรณ ประกอบด้วย คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก และพฤติกรรมบ่งชี้ ดังต่อไปนี้
1. มีความเมตตากรุณา
        - มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม ไม่นิ่งดูดายและ เต็มใจช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ
        - มีความสนใจและห่วงใยในการเรียนและความประพฤติของผู้เรียน แนะนำ เอาใจใส่ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุข และพ้นทุกข์ เป็นกันเองกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจและเป็นที่ พึ่งของผู้เรียนได้
2. มีความยุติธรรม
          - มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน เอาใจใส่และปฏิบัติต่อผู้เรียนและเพื่อน ร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาคและไม่ลำเอียง ตัดสินปัญหาของผู้เรียนด้วย ความเป็นธรรม มีความเป็นกลาง ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงานและ ผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3. มีความรับผิดชอบ
            - มุ่งมั่นในผลงาน มีวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ วางแผนการ ใช้เวลาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติงานได้ทันเวลา ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและมี ประสิทธิภาพ
4. มีวินัย
              - มีวินัยในตนเอง ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม มีวิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นได้
             - ปฏิบัติตามกฎและระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา
5. มีความขยัน
                 - มีความตั้งใจ กระตือรือร้น และปฏิบัติงานเต็มความสามารถอย่าง สม่ำเสมอ ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำงาน
                - มีความพยายามที่จะสอนเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
6. มีความอดทน
                - อดทนเมื่อเกิดอุปสรรค ปฏิบัติงานเต็มที่ไม่ทิ้งขว้างกลางคัน
               - มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่ายและสามารถควบคุม อารมณ์ได้อย่างเหมาะสม อดทน อดกลั้น ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์28
7. มีความประหยัด
                - รู้จักประหยัดอดออม ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด ไม่ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน รู้จักเก็บออมทรัพย์ เพื่อความมั่นคงของฐานะ
                - ใช้ของคุ้มค่า ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด
8. มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู
                - เห็นความสำคัญของอาชีพครู สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพ ครู เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนา มาตรฐานวิชาชีพครู
              - รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีและเกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวมเป็นสำคัญ รักษาความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหน้าที่ การงาน ปกป้องและสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพครู
             - เกิดความสำนึกและตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี ปฏิบัติตนให้เหมาะสมที่เป็น ปูชนียบุคคล
9. มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต
           - รับฟังความคิดเห็นและข้อโต้แย้งของผู้อื่น เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความ คิดเห็น
           - มีเหตุผล ยอมรับและปฏิบัติตามความคิดเห็นที่มีเหตุผลโดยคิดถึง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ใช้หลักการและเหตุผลในการตัดสินใจและ แก้ปัญหา


ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์

ผลสรุปจากการวิจัยได้แสดงคุณลักษณะของครูที่ดีที่พึงปรารถนา 3 ด้านคือ
1. มีความรู้ดี ซึ่งได้แก่ ความรู้ในวิชาการทั่วไป ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน ความรู้ในวิชาครู ความรู้ในหน้าที่และงานครูทุกประการ
2.มีทักษะในการสอนและการปฏิบัติงานครู เช่น อธิบายเก่ง สอนสนุก ใช้สื่อและอุปกรณ์เสมอ จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศได้น่าเรียน เร้าพฤติกรรม ตลอดจนชี้แนะแนวทางในการศึกษา จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
3.มีคุรุธรรมนิยม อันได้แก่ คุณธรรมของครู จริยธรรม และคตินิยมในความเป็นครู เช่น ภาคภูมิใจที่ได้เป็นครู มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู รักการสอน พอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของศิษย์ ช่วยพัฒนาคนและสังคม ตลอดจนมีวิญญาณแห่งความเป็นครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น