หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

วิชาชีพครู
ความสำคัญของวิชาชีพครู


                ครู อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคมครูคือบุคคลที่มีหน้าที่หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่านรวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงานโดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอแล้ว
 
ความสำคัญของคุณธรรม

               คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญที่ให้ไว้สำหรับบุคคลหรือสังคมได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  จะช่วยให้บุคคลปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น  มีความสำเร็จในงานที่ทำ เป็นคนดีของครอบครัว  สังคม และประเทศชาติ  สำหรับครูกับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นของคู่กันหากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับนักบวชที่ไร้ศีลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทยในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า    ท้องสนามหลวง  วันจันทร์ที่  5  เมษายน  พ.ศ. 2525  ทั้งนี้เพื่อยึดถือปฏิบัติมีอยู่  4  ประการ คือ

         ประการแรกคือการรักษาความสัจ  ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

         ประการที่สองคือการรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ  ความดีนั้น

        ประการที่สามคือการอดทน  อดกลั้น  และอดออม  ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ  สุจริต  ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

         ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว  ความสุจริต  และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

            คุณธรรมทั้ง  4  ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข  ร่มเย็น  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู  จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น



             เหนือสิ่งอื่นใด  ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งพระราชทานแก่ครูอาวุโส  ประจำปีพุทธศักราช  2522  เมื่อวันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ.2523  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2541)  มีข้อความเกี่ยวข้องกับลักษณะครูที่ดีตอนหนึ่งว่า  ........“ ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี  คือ
        -ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
        -ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
        -ต้องหนักแน่น  อดทน  อดกลั้น
        -ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
        -ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
        -ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
        - ต้องรักษาความซื่อสัตย์  รักษาความจริงใจ
        -ต้องมีเมตตา  และหวังดี
        -ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
       - ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ  และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล”

คุณลักษณะที่ดีของครู 
           คุณลักษณะที่ดีของครู  หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี  หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคมลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความเข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี  มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย

สถาบันและองค์กร

๑. องค์กร
             องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครู  มีหลักๆ๓  องค์กร คือ
    1.องค์กรผลิตครู – หน่วยงานผลิตบุคลากรทางการศึกษา เช่น คณะศึกษาศาสตร์, ราชภัฏ ฯ
    2.องค์กรใช้ครู – สถานศึกษาในสังกัดต่างๆทั้งกระทรวงศึกษา หน่วยงานเพื่อให้ความรู้
    3.องค์กรวิชาชีพครู – องค์กรที่ผู้ประชอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ

  ลักษณะขององค์กร  :
            ๑. ปัญหา/แนวคิด ที่เหมือนกัน ร่วมกันจัดตั้ง
            ๒. เป็นวิชาชีพชั้นดี จำเป็นต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพ มีผลกระทบต่อมวลชน
            ๓. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
            ๔. มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ
            ๕. มี พ.ร.บ. ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
            ๖.มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

 
       เป้าหมายขององค์กรวิชาชีพครู
     ๑. ส่งเสริมสมาชิกให้มีการกินดี อยู่ดี โดยจัดสวัสดิการต่างๆหรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกด้าน
     ๒. ส่งเสริมสมาชิกมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น (ส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ)
 

บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม)
            ๑. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจสามารถปฏิบัติงานได้โดยเร็ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
            ๒. ส่งเสริมสวัสดิการแลพบริการให้แก่สมาชิกโดยทั่วถึง
            ๓. สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอัน เหมาะสม
            ๔. มีอำนาจในการออกและถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
            ๕. ส่งเสริมให้สมาชิกมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ
            ๖. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
            ๗. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
            ๘. ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง
                                          
๒. สถาบัน
            - สถาบันเป็นสิ่งที่สำคมจัดตั้ง  เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม  เป็นความจำเป็นที่ต้องมีของสังคม
     องค์ประกอบความเป็นสถาบัน
            - จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสังคมยอมรับ
            - มีกฎหมายรองรับ มีระเบียบวิธีการ
            - มีลักษณะ มั่นคง เปลี่ยนแปลงยาก
            - มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ
            *สถาบันวิชาชีพครู  ส่งเสริมศักดิ์ศรี  สร้างความเชื่อมั่น และ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม
            * ผู้ประกอบวิชาชีพ ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ และ ปกป้องสถาบัน
                                      





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น